วงจรหนี้ หนี้เก่าไป หนี้ใหม่มา

admindebt

ส่งท้ายหนี้เก่า ต้อนรับหนี้ใหม่ ? ?

หลายคนคงคิดถึงการตะลุย shopping ช่วงเทศกาลกันแล้วใช่ไหมคะ เพราะนอกจากจะมีสินค้า โปรโมชั่นร้านอาหาร แพ็คเกจท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่พาเหรดกันมาลดราคาเอาใจเหล่านัก shop ให้ได้เลือกซื้อกันอย่างจุใจแล้ว บางคนห้ามใจไม่ไหวถึงขั้นรูดบัตรจ่ายไปก่อน โดยไม่แคร์ยอดหนี้ที่รออยู่ข้างหน้าเลยทีเดียว ??

จะว่าไป การเป็นหนี้สำหรับมนุษย์ปุถุชนอย่างเราถือเป็นเรื่องปกติค่ะ ในบางกรณีก็ช่วยสร้างทรัพย์สินให้กับเราได้ เช่น การกู้ซื้อบ้าน กู้มาทำธุรกิจ หรือสำหรับบางคนก็เป็นหนี้เพื่อซื้อสินค้าที่อยากได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรถ้ายังจ่ายได้เต็มจำนวนและตรงเวลา เพราะหนี้ที่น่ากลัวที่สุดคือ “หนี้ที่เกินความสามารถในการชำระ” ที่เมื่อสะสมมากขึ้น ๆ ก็อาจไปถึงจุดที่เป็นหนี้เสียเพราะจ่ายไม่ไหว  ????

เวลาที่ใกล้เกิดปัญหานี้ หลายคนเลือกใช้วิธีการกู้หนี้ใหม่เพื่อปิดหนี้เก่า หรือ “รีไฟแนนซ์” ? ซึ่งก็มีข้อดีคือ ช่วยให้เราประหยัดดอกเบี้ยได้สำหรับหนี้สินในระยะยาว เช่น บ้าน แต่สำหรับหนี้ระยะสั้นอย่างบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล การที่เรากู้หนี้ใหม่มาปิดหนี้เก่าไปเรื่อย ๆ เช่น กดจากบัตรใบที่ 2 มาปิดที่ 1 วนเวียนไปมา จะช่วยต่อลมหายใจได้แค่ระยะหนึ่งเท่านั้น และที่น่ากลัวคืออาจทำให้เกิดอาการเสพติดการเป็นหนี้ (Debt addiction) ที่อาจส่งผลเสียต่อสภาวะการเงินของเราในระยาว

เว็บไซต์ให้ความรู้ทางการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา www.moneycrasher.com กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “การเสพติดการเป็นหนี้มักจะเกิดกับผู้ที่ไม่วางแผนการเงิน ? ไม่สนใจสถานะการเงินของตนเอง ใช้จ่ายเกินตัว ไม่กลัวการเป็นหนี้ และมักมองว่าการกู้เงินเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการเงิน และมักไม่เห็นความสำคัญของการวางแผนชำระหนี้” ผู้ที่เสพติดการเป็นหนี้จึงมักขวนขวายหาแหล่งเงินกู้ใหม่ ๆ เพื่อใช้บรรเทาปัญหาเงินขาดมือ และก่อหนี้ใหม่ได้เรื่อย ๆ โดยไม่สนใจถึงยอดหนี้ที่กำลังพอกพูน

เอาล่ะค่ะ ถ้าพบว่าเราหรือคนรอบข้างมีอาการเสพติดหนี้แล้ว สิ่งที่ควรทำคือ ตั้งสติ และปฏิบัติตาม 4 ขั้นตอน ? ที่จะนำพาเราให้หลุดพ้นจากสภาวะนี้ได้ คือ 

1. ยอมรับความจริงว่าเราขาดความสามารถในการชำระหนี้ ?
2. ห้ามใจหยุดก่อหนี้ใหม่ ?
3. วางแผนปลดหนี้ให้เร็วที่สุด โดยเริ่มต้น จากการลิสต์บัญชีหนี้ที่มี ระบุยอดหนี้ ดอกเบี้ย กำหนดวันชำระหนี้ แล้วเริ่มต้นวางแผนหาเงินมาชำระหนี้ เช่น งดปาร์ตี้ หางานพิเศษทำ ตัดใจขายของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ หรือถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็ควรขอปรับโครงสร้างหนี้ ?
4. เปลี่ยนพฤติกรรม ดูว่าอะไรคือสาเหตุของการเป็นหนี้แล้วเลิกทำสิ่งนั้น เช่น ใช้เงินเกินตัว ไม่เคยเก็บเงินออมเผื่อฉุกเฉิน ?

สุดท้ายนี้ ขอฝากสมการ รายได้-หนี้สิน-เงินออม = เงินที่ใช้จ่ายได้ ไว้ใช้เป็นหลักในการจัดการเงินสำหรับคนมีหนี้ (ที่แม้ยังไม่ท่วมตัวก็ใช้ได้นะคะ) และหากมีวินัยและความพยายามแล้ว เชื่อว่าเราจะสามารถหลุดพ้นจากวงจร “ส่งท้ายหนี้เก่า ต้อนรับหนี้ใหม่ วนๆ ไป” ได้อย่างถาวรค่ะ ?