มารู้จักกับคำว่า “เงินฝืด” กันดีกว่า

adminfinbook

?ภาวะเงินฝืดคืออะไร มีหลักการคิดอย่างไร?

สำหรับ ภาวะเงินฝืด นั้นเป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อย ๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมดผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว แต่หากมองภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ก็ยังไม่เข้าข่ายภาวะเงินฝืด ตามนิยามของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อ คือ

? นิยามของธนาคารกลางยุโรป สำหรับ ภาวะเงินฝืด

1. อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period)

2. อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลาย ๆ หมวดสินค้าและบริการ

3. การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัยยะ

4. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

?สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด

สาเหตุใหญ่ ๆ คือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้หรืออุปสงค์มวลรวมน้อยกว่าอุปทานมวลลรวม ซึ่งทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) หรือสินค้าขายไม่ออก ส่งผลให้โรงงานหรือธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องลดปริมาณการผลิต ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานตามมาด้วย จนสุดท้ายทำให้รายได้ประชาชาติลดลงในที่สุด

? ผลของภาวะเงินฝืด

หากเกิดภาวะ เงินฝืด จะทำให้ประชาชนมีความสามารถที่จะใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้ลดลงจนรวมไปถึงหยุดซื้อ จนทำให้ปริมาณสินค้าและบริการที่มีอยู่มีมากเกินความต้องการ เมื่อสินค้าที่ผลิตได้ขายไม่ออก เหล่าโรงงานและเหล่าผู้ผลิตจะต้องลดราคาสินค้าและบริการจนขาดทุนหรือได้รับกำไรน้อยลงทุนแล้วไม่คุ้ม จนทำให้ผู้ผลิตบางส่วนอาจเลิกการผลิตหรือลดปริมาณการผลิตลง จนคนตกงานเป็นจำนวนมาก รวมถึงเกิดเป็นปัญหาลูกโซ่เพราะกลุ่มคนที่ว่างงานเหล่านี้จะไม่มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอยตามปกติ ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่ออก นอกจากการจ้างงานจะลดต่ำลง รายได้ของคนส่วนรวมจะลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศอีกด้วย ภาวะเงินฝืดจึงมีผลกระทบต่อประชาชนแต่ละอาชีพ ดังนี้

– ลูกจ้าง,พนักงานบริษัท
– พ่อค้าและนักธุรกิจ
– เกษตรกร
– ผู้มีรายได้ประจำ
– ลูกหนี้และเจ้าหนี้
– รัฐบาล

? แก้ไขภาวะเงินฝืด ได้อย่างไร

เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดสามารถแก้ไขได้ โดย รัฐบาลจะต้องออกมาตรการหรือนโยบายการเงินการคลังต่าง ๆ  ซึ่งจะเป็นมาตรการในการช่วยให้การใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถจัดการอุปทานส่วนเกินให้หมดไปได้ ภาวะเงินฝืดก็จะสิ้นสุดลง

 ? แล้วในระยะข้างหน้า จะมีโอกาสเกิดภาวะเงินฝืดหรือไม่?

ต้องบอกว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึกหรือฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก ซึ่งแบงก์ชาติมีการดูแลเสถียรภาพราคา และติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand