5 บัญชีที่ต้องมี สำหรับคู่แต่งงาน

adminpersonalfin

คู่รักที่ดี ?? ต้องมี 5 บัญชีนี้ ⁉️

เมื่อตัดสินใจเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่ร่วมกันแล้ว นอกจากความรัก ความเข้าใจ..อีกสิ่งที่คู่รักทุกคู่ควรจะคิดและตกลงกันให้ดีก็คือเรื่องเงินทอง ในครอบครัว ? “well-wisher ขอแนะนำว่าควรจัดสรรเงินออกเป็น 5 บัญชีให้ชัดเจน อย่าใช้ปนกัน และคุยกันให้เคลียร์ตั้งแต่แรกว่า แต่ละฝ่ายจะจ่ายในแต่ละบัญชีกันคนละเท่าไหร่ เอาให้สบายใจทั้งคู่ แล้วเชื่อเถอะว่าจะไม่มีเรื่องปวดหัวตามมาเลย ???

1. บัญชีค่าใช้จ่ายครอบครัว ?
เป็นบัญชีที่สามีและภรรยาร่วมกันจ่ายเอาไว้ใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ โทรศัพท์ น้ำ ไฟ อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่เราคาดการณ์ไม่ได้ล่วงหน้า อย่างทำบุญ ใส่ซองงานแต่ง ช่วยเหลือ งานศพ และอื่น ๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ควรเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ผูกกับบัตร ATM บัตรเดบิต หรือโมบาย แบงก์กิ้ง เพื่อความสะดวกในการใช้จ่าย

2.บัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัว?
ถึงแม้เป็นสามีภรรยากันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าเสื้อผ้าหน้าผม ของใช้ส่วนตัวที่อยากได้ สำหรับเงินก้อนนี้แนะนำให้เก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ผูกกับบัตร ATM บัตรเดบิต หรือโมบาย แบงก์กิ้ง เพื่อความคล่องตัวในการเอามาใช้เช่นกันค่ะ

3.บัญชีค่าใช้จ่ายรายปี ⚖️
อย่างค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าส่วนกลางคอนโด เป็นต้น ส่วนนี้ควรทยอยเก็บสะสมทุกเดือน ให้คิดไว้เลยว่าปีนึงต้องจ่ายเท่าไหร่ แล้วนำไปหาร 12 เพื่อจะได้รู้ว่าต้องเก็บต่อเดือนเป็นจำนวนเท่าไหร่ และเงินในส่วนนี้แนะนำให้เก็บไว้ในกองทุนที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น แล้วเมื่อถึงกำหนดที่จะใช้เงินค่อยไปขายกองทุนคืน ซึ่งการเก็บเงินในกองทุนนั้นจะทำให้เงินงอกเงยได้มากกว่าฝากในออมทรัพย์ และอย่าเผลอเอาเงินส่วนนี้มาใช้โดยไม่ตั้งใจนะคะ

4.บัญชีลงทุน ?️
เมื่อเริ่มต้นชีวิตคู่แล้ว ก็ต้องมองถึงความมั่นคงในอนาคตเป็นธรรมดา และความมั่นคงนั้นสามารถสร้างได้จากการลงทุน โดยควรแบ่งลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน ทั้งกองทุน หุ้น ประกัน ซึ่งช่องทางการลงทุนสุดฮิตของคนยุคนี้ก็หนีไม่พ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงประกันชีวิตแบบบำนาญ และประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่มีระยะคุ้มครองมากกว่า 10 ปี เพราะการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว

5. บัญชีเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ?
นอกจากบัญชี 4 ส่วนที่กล่าวมา หากมีเป้าหมายในการใช้เงินอื่น ๆ ก็ควรเปิดบัญชีสำหรับเป้าหมายนั้นโดยเฉพาะ เช่น บัญชีการท่องเที่ยว หรือบัญชีค่าเทอมลูก ซึ่งประเภทของบัญชีที่เปิดก็ควรให้สอดคล้องกับความสำคัญของเป้าหมาย และระยะเวลาในการลงทุนจนถึงเวลาที่ต้องใช้เงิน เช่น ต้องการเก็บเงินเพื่อส่งลูกเรียนในระดับประถมศึกษา ถือเป็นเป้าหมายสำคัญและมีเวลาลงทุนสั้น ควรลงทุนในแบบที่ความเสี่ยงต่ำ เน้นความมั่นคง เพื่อรักษาเงินต้นไม่ให้ขาดทุน เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ แต่ถ้าเป็นเป้าหมายระยะยาวอย่างการวางแผนส่งลูกเรียนปริญญาตรีเมืองนอก แม้จะเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญสูง แต่มีเวลาลงทุนนาน จึงควรเน้นลงทุนในกองทุนรวมผสม ซึ่งลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้เพื่อเพิ่มผลตอบแทน

ข้อมูลอ้างอิง : K-Expert