ส่งลูกเรียนต้องทำอะไรบ้าง?

adminsavings

ใครต้องส่งลูกเรียนบ้าง? แล้ววางแผนหรือยัง? วันนี้ “well-wisher” ขอเสนอ 4 ขั้นตอน! วางแผนออมเงินเพื่อการศึกษาของลูก ติดตามได้เลยค่ะ

ลำดับที่หนึ่ง… เขียนแผนอนาคตเพื่อการศึกษา
การวางแผนทุกประเภทจะเริ่มต้นจากการเขียนแผนอนาคตขึ้นมาก่อน เช่นเดียวกันกับทุกๆ แผน เราจะต้องสำรวจค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดอายุการศึกษา ด้วยการวางแผนแบบทีละขั้นตอน ตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม จนไปถึงการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และอย่าลืมนะคะว่า การเรียนสมัยนี้เราต้องบวกค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริมพิเศษเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาที่สอง การเรียนดนตรี หรืองานศิลปะด้านอื่นๆ เป็นต้น

ลำดับที่สอง… กำหนดเงินออมในแต่ละเดือน
สำหรับคุณพ่อ-คุณแม่ ส่วนใหญ่ที่ต้องทำงานประจำ หรือแม้แต่ทำกิจการส่วนตัว การกำหนดเงินออมในแต่ละเดือนถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และเห็นภาพชัดที่สุด หากเราต้องการออมเงินเพื่อการศึกษาให้ลูกๆ 4 หมื่นบาทต่อปี หมายความว่า เราควรออมเงินให้ได้ราวๆ 3 พันบาทต่อเดือน จะเห็นว่าเป็นเงินไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นคุณพ่อ-คุณแม่ควรจะวางแผนการออมเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ควรรอให้ถึงเวลาแล้วค่อยไปหาเงินเอาข้างหน้า

ลำดับที่สาม… นำเงินออมไปลงทุนต่อยอด
บางคนอาจรู้สึกว่าการออมเงินจำนวนมากๆ เพื่อให้ลูกๆ ของเราได้มีการศึกษาที่ดีเป็นไปได้ยากเหลือเกิน ลองนำเงินออมไปลงทุนต่อยอด ยกตัวอย่างเช่นอยากเตรียมเงินให้ลูกเรียนปริญญาตรีหลักสูตรภาษาอังกฤษ นำเงินออม 50,000 บาท ไปลงทุน 10 ปี ผ่านไป จะมีเงิน 125,000 บาท* สำหรับค่าเรียนลูก

ลำดับที่สี่… เขียนแผนสำรอง

แผนสำรองมีไว้สำหรับยามที่แผนหลักไม่เป็นไปตามที่คิด เพราะการศึกษาของลูกๆ เรานั้นไม่ควรมีความเสี่ยง หากไม่เป็นไปตามที่คิดอาจจะส่งผลถึงอนาคตของลูกๆ ได้ค่ะ แผนสำรองก็ได้แก่ การหารายได้เสริมเพื่อเพิ่มปริมาณการออมเงินให้มากกว่าเดิม หรือแม้แต่แผนการมองหาสถานศึกษาที่มีคุณภาพนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดภาพกว้าง และเกิดความคุ้มค่ากับเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องจ่ายไปนั่นเองค่ะ

สุดท้ายขอให้ทุกคนเก็บเงินได้ตามที่ตั้งใจไว้นะคะ หากสงสัยส่งคำถามมาหา “well-wisher” ได้เลยนะค่ะ