5 ธุรกิจสำหรับอนาคต เกาะกระแส “มนุษย์รักสบาย”

adminothers

? ? 5 ธุรกิจมาแรง! เกาะกระแส Lazy Economy โกยเงินลูกค้า “มนุษย์รักสบาย”

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคจึงเป็น “มนุษย์รักสบาย” หรืออีกนัยคือกลายเป็น “คนขี้เกียจ” ที่ต้องอดทนรอหรือทำสิ่งต่าง ๆ ที่เทคโนโลยีช่วยประหยัดเวลา ทำให้เกิด Lazy Economy (เศรษฐกิจคนขี้เกียจ) ที่ตอบโจทย์คนรักสบายโกยเงินเข้ากระเป๋ามากขึ้น

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU จัดทำวิจัย เจาะลึกอินไซด์…พิชิตใจคนขี้เกียจ (Lazy Consumer) ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองและเป็นโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ในยุคนี้

ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่าปัจจุบันผู้คนจำนวนมากหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เพราะตอบโจทย์การประหยัดแรงงานและเวลา จนมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่สังคม “คนรักสบาย” หรือ “ความขี้เกียจ” นั่นเอง

ส่งผลให้ “เศรษฐกิจขี้เกียจ” (Lazy Economy) ที่มาจากความต้องการความสะดวกสบายในชีวิต โดยผู้บริโภคพร้อมที่จะจ่ายเงิน หากสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ช่วยทำให้รู้สึกว่าได้รับความสะดวกสบายมากกว่าเดิม จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความต้องการความสะดวกสบายขั้นสุด ทำให้เกิดธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมสูง ที่เห็นชัดเจน คือ ธุรกิจขนส่ง ฟู้ดเดลิเวอรี่ ธุรกิจจองคิว ขายสินค้าออนไลน์ อาหารพร้อมรับประทาน เป็นต้น ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ยังมีแนวโน้มเติบโตในปัจจุบัน

“10 กิจกรรม” คนไทยขี้เกียจ ?

จากงานวิจัยการทำการตลาด Lazy consumer ในสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 คน ใน 4 กลุ่มอายุ โดยแบ่งเป็น Gen Z, Gen Y, Gen X และ Baby Boomers

พบว่า 10 อันดับกิจกรรมที่ในไทยขี้เกียจมากที่สุด ได้แก่ 1. ออกกำลังกาย 84% 2. รอคิวซื้อของ 81% 3. ทำความสะอาดบ้าน 77% 4. อ่านหนังสือ 70% 5. ทำอาหาร 69% 6. พูดคุยหรือเจอคนเยอะๆ 68% 7. ดูแลผิวพรรณตัวเอง 68% 8. เรียน/ทำงาน 65% 9. ออกไปช้อปปิ้ง 64% และ 10. เดินทางไปไหน มาไหน 60%

อย่างไรก็ตาม “ระดับความขี้เกียจ” โดยเฉลี่ยต่อกิจกรรมนั้น ๆ อันดับแรก คือ รอคิวซื้อของ ตามมาด้วย การออกกำลังกาย การทำความสะอาด ทำอาหาร อ่านหนังสือ เดินทางไปไหนมาไหน พูดคุยหรือเจอคนเยอะ ๆ เรียน/ทำงาน ออกไปช้อปปิ้ง และดูแลผิวพรรณตัวเอง

? ท็อป 5 พฤติกรรมขี้เกียจ ?

จากการวิเคราะห์เชิงลึก 5 อันดับแรกของพฤติกรรมที่คนทั่วไปขี้เกียจที่สุด ประกอบด้วย

? 1. กลุ่มมนุษย์อยากดูดี แต่ไม่มีแรงหรือการขี้เกียจออกกำลังกาย คนไทยมีพฤติกรรมดังกล่าวมากถึง 84% หรือประมาณ 55 ล้านคน จากจำนวนประชากร 66.41 ล้านคน

? 2. มนุษย์ชอบช้อป แต่ไม่ชอบรอหรือขี้เกียจรอคิวซื้อของ พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมดังกล่าวมากถึง 81% หรือประมาณ 53 ล้านคน

? 3. มนุษย์บ้านรกสกปรกค่อยทำ พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมดังกล่าวมากถึง 77% หรือประมาณ 50 ล้านคน

? 4. มนุษย์ไม่ชอบอ่าน แค่ผ่าน ๆ ก็พอหรือขี้เกียจอ่านหนังสือ พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมดังกล่าวมากถึง 70% หรือประมาณ 46 ล้านคน

? 5. มนุษย์ชอบกินแต่ไม่อินทำอาหารหรือขี้เกียจทำอาหาร พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมดังกล่าวมากถึง 69% หรือประมาณ 45 ล้านคน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าไม่มีเวลา รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรงจูงใจ และทำไม่เป็น

5 ธุรกิจครองใจคนรักสบาย

จากการวิจัยยังพบว่า 5 ธุรกิจและบริการที่กำลังมาแรงในไทยและคาดว่าในอนาคตจะสามารถครองใจตลาดคนขี้เกียจได้ดี คือ 

1. ธุรกิจที่ทำแทนได้ ? อาทิ ทำบริการความสะอาดบ้าน บริหารสั่งอาหาร บริการซื้อของแทน 

2. ธุรกิจที่ไม่ต้องขยับ ไม่ต้องจับ ไม่ต้องถือ ? อาทิ สินค้าประเภท Automation และ Hand Free 

3. ธุรกิจที่พร้อมใช้งานทันที ? เช่น สินค้าประเภทพร้อมกิน พร้อมดื่ม 

4. ธุรกิจร่วมมือ ร่วมใจ ? เช่น community ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในรูปแบบออนไลน์ 

5. ธุรกิจที่เน้นการฟัง ? เช่น Podcast content หรือ VDO content

อย่างไรก็ตามธุรกิจและบริการเหล่านี้ในอนาคตคาดว่าจะได้รับความนิยมและตอบสนองความต้องการตลาดกลุ่มคนขี้เกียจได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากสตาร์ทอัพ ที่กำลังมองหาแนวทางทำธุรกิจอาจจะหันมาศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมตลาดคนขี้เกียจและนำไปต่อยอดได้ในอนาคต

กลยุทธ์ “SLOTH” จับ Lazy consumer

ฝนทิพย์ กิตติประเสริฐแสง หัวหน้าทีมงานวิจัยการทำการตลาด Lazy consumer นักศึกษาสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เคล็ดลับการทำการตลาดในยุคที่คนขี้เกียจครองเมืองนั้น เจ้าของสินค้าและบริการจะต้องมีการใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “SLOTH” เพื่อครองใจผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว

โดยกลยุทธ์ “SLOTH” ประกอบด้วย 
?Speed คือต้องมีความรวดเร็วและต้องไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกเสียเวลา 
?Lean กระชับ ตัดท่อนขั้นตอนที่ยุ่งยากออก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
?Enjoy ต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกสนุก และเกิดแรงจูงใจในการใช้สินค้าและบริการ 
?Convenient สินค้าหรือบริการต้องมีความสะดวก ช่วยให้ชีวิตนั้นง่ายมากขึ้นและสุดท้าย คือ 
?Happy ความสุข จากความต้องการที่ถูกเติมเต็มและปัญหาได้ถูกแก้ไขด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด