จันทร์ที่ 8/3 ?‍✈️ วันสตรีสากล Women’s Day ?

adminothers

จันทร์ที่ 8/3 ?‍✈️ วันสตรีสากล Women’s Day ?

❤️วันสตรีสากล (International Women’s Day) เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล  International Working Women’s Day) มีการเฉลิมฉลองในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ในแต่ละภูมิภาค ความสนใจของการเฉลิมฉลองมีตั้งแต่การเฉลิมฉลองความนับถือ ความซาบซึ้งและความรักต่อหญิงสำหรับความสำเร็จทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของหญิงทั่วไป เริ่มแรกเป็นงานการเมืองสังคมนิยม?‍? แล้ววันหยุดนี้ก็กลืนวัฒนธรรมของหลายประเทศซึ่งส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มตะวันออก ในบางภูมิภาควันดังกล่าวเสียรสทางการเมือง และกลายเป็นเพียงโอกาสสำหรับบุคคลในการแสดงความรักแก่หญิงในวิธีซึ่งคล้ายการผสมระหว่างวันแม่และวันวาเลนไทน์ ? ทว่า ในบางภูมิภาค แก่นการเมืองและสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติกำหนดยังมั่นคงอยู่ และความตระหนักทางการเมืองและสังคมของการต่อสู้ของหญิงทั่วโลกมีการเผยแพร่และพิจารณาด้วยความหวัง บางคนเฉลิมฉลองวันดังกล่าวโดยการสวมริบบิ้นสีม่วง ?

?ประวัติความเป็นมา ของ “วันสตรีสากล” เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

❣️ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้คลารา เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของคลารา เซทคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

?ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า “ขนมปังกับดอกกุหลาบ” ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

?จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

?ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของคลารา เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล

อ้างอิง
1. “UN WomenWatch: International Women’s Day – History”. UN.org. สืบค้นเมื่อ 2013-02-21.
2. Rochelle Goldberg Ruthchild, “From West to East: International Women’s Day, the First Decade”, Aspasia: The International Yearbook of Central, Eastern, and Southeastern European Women’s and Gender History, vol. 6 (2012): 1-24.