เรามี 4 พฤติกรรมที่ทำให้ไม่มีเงินเก็บไหม?

admindebt, savings

ใครอยากมีเงินเก็บบ้างยกมือขึ้น? ถ้าอยากมีเราต้องเลิกพฤติกรรมเคยชินบางอย่างที่ทำให้เงินเก็บจางหายไปค่ะ ไปดูกันเลย

1. ไม่วางแผนการใช้เงิน ?
เชื่อว่าหลายคนไม่เคยวางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือน และไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำ เมื่อมีรายได้จากการทำงาน จะดีกว่าไหมหากเรารู้จักวางแผนการใช้เงินตั้งแต่ต้นเดือน โดยเริ่มจากการออมก่อนใช้อย่างน้อย 20% ของรายได้เพื่อให้มีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ได้เงินมาออมเลยค่ะ

2. ใช้จ่ายเงินเกินตัว ?
การใช้จ่ายเงินเกินตัวถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ทำให้ไม่มีเงินเก็บ หลายคนใช้เงินเกินรายได้หรือรายรับที่เข้ามา เช่น ซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ซื้อของใช้แบรนด์เนม พวกเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ชอบไปเที่ยวสังสรรค์ ทานอาหารนอกบ้านในร้านหรู ๆ หรือชอบดื่มชา กาแฟราคาแพง เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะต้องการการยอมรับในสังคม อันนี้ต้องระมัดระวังนะคะ

3. ใช้บัตรเครดิตไม่เป็น ??
บัตรเครดิตเปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์กับเรามากมาย แต่ถ้าใช้บัตรไม่เป็นก็เป็นตัวบ่อนทำลายสถานะการเงินของเราได้เช่นกัน บางคนใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าตามใจ โดยไม่ได้คิดถึงว่าเมื่อครบกำหนดชำระแล้วจะมีเงินไปจ่ายเต็มจำนวนหรือไม่ ซ้ำร้ายกว่านั้นคือ บางคนคิดว่าหากไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวนก็ไม่เป็นไร ใช้วิธีผ่อนจ่ายขั้นต่ำ 10% เอาก็ได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะเท่ากับว่าเรายอมเป็นหนี้ และยอมจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 28% ต่อปี นอกจากจะไม่มีเงินเก็บแล้วยังมีหนี้มาให้ปวดหัวอีกต่างหากนะคะ

4. ไม่มีเป้าหมายในการเก็บเงิน ??
หลายคนใช้จ่ายเงินไปวัน ๆ โดยไม่มีเป้าหมายในการเก็บเงิน ไม่รู้ว่าจะต้องเก็บเงินไปทำไม หรือต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไรจึงจะถึงเป้าหมาย เลยไม่คิดที่จะเก็บเงิน หรือเรียกว่าไม่มีแรงจูงใจในการเก็บเงินก็ว่าได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราไม่มีเงินเก็บ ในทางกลับกันหากเรามีเป้าหมายในการเก็บเงิน เช่น ตั้งใจจะเก็บเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อเรียนต่อปริญญาโทในอีก 2 ปีข้างหน้า คราวนี้เราก็รู้แล้วว่าจะต้องเก็บเงินไปเพื่ออะไร ทำให้มีแรงจูงใจในการเก็บเงินมากขึ้น และสามารถคำนวณได้ว่าต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไรจึงจะมีเงินไปเรียนต่อตามที่ตั้งใจไว้

Tips?
• หาตัวช่วยในการออมเงิน ?? เช่น ฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี หรือออมผ่านกองทุนรวมเป็นรายเดือน
• จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ?เพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง และทำให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น

ด้วยความปรารถนาดี จาก “well-wisher”?