? เคล็ดลับ “กินอยู่อย่างพอดี ก็มีเงินเหลือเก็บ” ?
เข้ายุคกินอยู่อย่างพอเพียงแล้วจ้า เข้าข่ายขัดสนนิด ๆ ด้วยนะคะช่วงนี้ ..เฮ้อ ? วันนี้ “well-wisher” จะมาแนะนํา เคล็ดลับกินอยู่อย่างพอดีแบบยังมีเงินเหลือเก็บให้เพื่อน ๆ กันค่ะ
͛? 1. ทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ขั้นเบสิคที่ได้ผลเสมอ คือ การทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นวิธีที่จะทําให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนเราได้รับเงินมาเท่าไร และจ่ายเงินไปเท่าไร มีค่าใช้จ่ายใดที่เกินความจําเป็นบ้าง และยังช่วยให้เราประมาณการใช้เงินของเราในเดือนถัดไปได้อีกด้วย
? 2. พกเศษเหรียญ
เศษเหรียญเหล่านั้นก็คือเงินเหมือนกัน ดังนั้นอย่าปล่อยเหรียญทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้ค่ะ เหรียญทุกเหรียญมีค่า ไม่ว่าจะเหรียญบาท เหรียญสลึง เข้าเซเว่นใช้ได้เยอะเลยค่ะ
? 3. งดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ค่ากาแฟ ขนม หรือเสื้อผ้าที่ซื้อมาแต่ไม่มีโอกาสได้ใส่ ค่าใช้จ่ายพวกนี้เป็นความฟุ่มเฟือยที่ควรจะตัดทิ้งอย่างยิ่ง ลองคิดดูสิว่าวัน ๆ หนึ่ง คุณดื่มกาแฟแก้วละ 50 บาท รวมทั้งเดือนจะเป็นเท่าไร แล้วเราต้องเสียเงินไปเท่าไร หรือโดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ชอบช้อปปิ้งเป็นชีวิตจิตใจ หันกลับมาดูสิว่า สิ่งที่คุณซื้อมาจําเป็นหรือเปล่า คุ้มค่าหรือไม่ หรือแค่เพียงสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น
?️ 4. ซื้อของลดราคา
สําหรับบางคนก็ยังแอบรู้สึกอายที่ต้องไปซื้อของลดราคา ทั้งที่จริง ๆ แล้วเป็นวิธีการประหยัดเงินที่ดีอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเห็นป้ายลดราคาแล้วจะพุ่งเข้าใส่อย่างเดียวนะ ตั้งสติและซื้อเฉพาะของที่จําเป็นเท่านั้น ถ้าทําได้ก็ลดค่าใช้จ่ายได้เยอะเลยเชียวล่ะ
? 5. ซื้อสินค้าที่คุณภาพ
การซื้อของที่มีคุณภาพดี แต่ราคาเพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อยย่อมคุ้มค่ากว่านะ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือของใช้ต่าง ๆ เมื่อมีคุณภาพที่ดีกว่าย่อมมีอายุการใช้งานที่นานกว่าอยู่แล้ว ฉะนั้นแทนที่จะมองเรื่องราคาอย่างเดียว หันมามองที่คุณภาพประกอบด้วยจะดีกว่าค่ะ
? 6. ต่อราคาให้เป็น
อย่าอายที่จะพูดต่อราคากับพ่อค้าแม่ค้านะคะ ถ้าไม่ลองต่อราคาสักหน่อยแล้วจะเสียดายนะจะบอกให้
? 7. เช็กราคาก่อนซื้อ
ถ้าไม่อยากจะเสียส่วนต่างของราคาไปง่าย ๆ ควรเช็กราคาให้ดีก่อนที่จะซื้อ แม้ว่าอาจจะไม่ถูกที่สุด แต่ถ้าหากเมื่อเทียบกับค่าเดินทาง หรือค่าขนส่งแล้วประหยัดได้มากกว่าก็เลือกซื้ออันนั้นเลย ที่สําคัญ อย่าลืมดูที่คุณภาพด้วยนะ
⛽️ 8. จํากัดการใช้เงินของตัวเองในแต่ละวัน
การจํากัดการใช้เงินเป็นการฝึกวินัยการใช้เงินที่ดี กําหนดไปเลยว่าเราต้องจะใช้วันละเท่าไร โดยในเงินจํานวนนั้นอาจจะรวมค่าเดินทาง ค่าอาหาร และอาจจะพอให้มีเหลือกินขนมนมเนยอีกนิด แบ่งเงินที่ต้องใช้ในแต่ละวันใส่ถุงหรือใส่ซองเอาไว้ หยิบไปวันละซอง และไม่ว่าอย่างไรก็ห้ามใช้เกินกว่านี้ ถ้าทำติดต่อกันได้สัก 1 เดือน นิสัยในการใช้เงินของคุณเปลี่ยนแน่นอนค่ะ
? 9. ปลูกสวนครัวไว้ทานเอง
เลือกปลูกในสิ่งที่คิดว่าคุณจะต้องได้ใช้อยูู่บ่อย ๆ เช่น กะเพรา พริก มะกรูด มะนาว โหระพา หรือผักที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก รับรองว่าลดค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารการกินลงได้ แถมถ้าเหลือจากการเก็บไปรับประทานจะนําไปขายก็ได้รายได้เสริมอีกด้วยนะ
? 10. ทําอาหารรับประทานเอง
สําหรับคนที่พอจะมีฝีมือปลายจวักอยู่บ้าง การทําอาหารรับประทานเองก็เป็นความคิดที่ดี นอกจากเราจะได้รสชาติอาหารที่ถูกปากเราแล้ว ก็ยังสามารถเลือกวัตถุดิบดี ๆ มาปรุงอาหาร แถมยังไงก็ถูกกว่าการไปซื้ออาหารสําเร็จรูปมารับประทานแน่นอนค่ะ
Original by well-wisher