?13 วิธีเก็บเงินง่าย ๆ ทำได้ทุกคน!?

adminsavings

?13 วิธีเก็บเงินง่าย ๆ ทำได้ทุกคน!?

?1. ได้เงินมาต้องรีบเก็บ
วิธีเก็บเงินก่อนใช้จ่าย มีข้อดีคือ เราสามารถออมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แน่นอน แต่เราไม่ควรออมเงินมากเกินกว่า 50% ของรายได้ เพราะอาจจะทำให้เราไม่มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น อย่าลืมว่าต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต และในบางครั้งสามารถซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นรางวัลขอบคุณตัวเองหลังจากทำงานหรือออมเงินสำเร็จตามเป้าหมายด้วย ป้องกันไม่ให้การออมเงินสร้างภาระให้กับคุณมากเกินไป

?2. เงินเย็นต้องมี
เงินเย็นหมายถึง เงินก้อนที่คาดว่าจะไม่นำมาใช้ในอนาคต ซึ่งก่อนมี “เงินเย็น” ต้องออมเงินให้สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเดือนละ 100 หรือ 1,000 บาท แม้เป็นเงินก้อนเล็ก ถ้าหมั่นออมทุกเดือนก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ จนเป็นเงินที่สามารถช่วยเรายามฉุกเฉิน และต่อยอดทำธุรกิจ สร้างรายได้อื่นอีกทาง

?3. ไม่ด้อยค่าเศษเงิน
เศษเงินในบัญชีหลักหน่วย หลักสิบ ไม่สามารถถอนออกมาจากตู้ ATM ได้ แต่สามารถเก็บออมได้ สำหรับคนที่เก็บเงินไม่อยู่ การสร้างบัญชีเงินฝากสำหรับเก็บเงินจำนวนเล็กน้อยแบบนี้ จะทำให้เงินไม่กี่สิบบาทกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ วิธีเก็บเงินดังกล่าว เหมาะกับผู้ที่มีเงินในบัญชีหลักหมื่นขึ้นไป แต่การเก็บเงินแบบนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีเงินในบัญชีหลักร้อย หลักพัน เพราะหากโอนเงินออกไปยังบัญชีเงินออมอีก เงินในบัญชีสำหรับใช้จ่ายจะเหลือน้อยเกินไป

?4. ขยันจัดการเงิน
การแบ่งเงินเป็นสัดส่วน ช่วยให้เราเก็บเงินได้ดีขึ้น ทราบได้ง่ายว่าเงินส่วนใดบริหารผิดพลาด และมีโอกาสต่อยอดสร้างรายได้มากกว่าเดิมหรือไม่ แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้มีรายได้มากเพียงพอ หากใครมีภาระเป็นเสาหลักของครอบครัว มีหนี้สิน ควรให้ความสำคัญกับการจัดการรายจ่ายเป็นหลัก และปิดหนี้เสียก่อนจะแบ่งเงินมาซื้อประกันชีวิต หรือเก็บเงินทีละน้อย ดีกว่านำเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยงรออยู่

?5. ให้บัตรเครดิตเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน
เมื่อเกิดเหตุต้องการเงินด่วน เช่น เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือรถเสีย การใช้บัตรเครดิตเป็นตัวเลือกแรกที่หลายคนเลือก เพราะช่วยชะลอการจ่ายเงินสดออกไป และช่วงก่อนถึงกำหนดชำระบิลบัตรเครดิต ก็สามารถหาเงินมาจ่ายก่อนโดนดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้

?6. คิดก่อนซื้อ
เราต่างมีของที่อยากได้เต็มไปหมด นั่นก็สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่กล้องเทพ นี่ก็เป็นเกมที่อยากได้ และสิ่งล่อตาล่อใจพวกนี้ ทำให้เราอยากจ่ายเงินซื้อเหลือเกิน คำว่า “สติยับยั้งชั่งใจ” เป็นสิ่งที่ผู้เริ่มต้นออมเงินต้องมี ดังนั้นก่อนซื้อของทุกครั้งควรคิดให้ดีว่าจำเป็นต่อชีวิตเราจริงหรือเปล่า? หรือมีของอื่นถูกกว่าแทนได้

การเทียบสเปกและความจำเป็น จึงเป็นวิธีหนึ่งในการเก็บเงิน เพราะของบางอย่างราคาถูก อาจใช้งานได้นาน และคุณภาพไม่แพ้ของราคาแพง เช่น ใช้สมาร์ทโฟนรุ่นหลักพัน แทนรุ่นราคาหลักหมื่น หากไม่ได้ใช้งานกล้องบ่อย หรือรอช่วงเวลาจัดโปรโมชั่น ลดราคาสินค้าที่ต้องการซื้อ ก็ช่วยประหยัดเงินไปได้เยอะ

⚙️7. ตั้งเวลาโอนเงินอัตโนมัติ
การตั้งเวลาโอนเงินอัตโนมัติถือเป็นวิธีเก็บเงินที่ทำได้ในทันที เพราะเมื่อเงินเดือนเข้ามา ก็สามารถโอนเงินเข้าบัญชีเงินออม หรือ Cloud Pocket ได้เลย แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือการโอนเงินอัตโนมัติจะทำให้เรา ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลบิลรายจ่ายอย่างละเอียดก่อนที่จะทำการโอน ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายตามยอดเงินที่ตั้งค่าไว้ เราอาจจะจ่ายไม่ครบหรือจ่ายเกินได้โดยไม่รู้ตัว

?8. จัดการเงินให้เหมาะกับความสำคัญและระยะเวลา
การเก็บเงินด้วยวิธีนี้ ช่วยให้เรายืดหยุ่นกับสถานการณ์ทางการเงินได้เหมาะสมกับเรื่องต่าง ๆ แต่ก็อาจเผื่อเงินกับเหตุการณ์ฉุกเฉินมากเกินไป จนเสียโอกาสต่อยอดสร้างรายได้

?9. ชวนแฟนเก็บเงิน
ใครมีแฟนต้องไม่พลาดกับวิธีเก็บเงินวิธีนี้ เพราะการมีรายได้มากกว่า 1 ทาง ต้องอาศัยทักษะการบริหารเงินมากกว่าเดิม การสร้างบัญชีร่วมกันด้วยฟีเจอร์ “Shared Cloud Pocket” จาก MAKE by KBank สำหรับออมเงินของทั้งคู่ เพื่อเตรียมพร้อมการซื้อบ้าน ซื้อรถ และเรื่องการสร้างครอบครัวในอนาคต เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้การออมเงินร่วมกันง่ายขึ้น

?10. วางเป้าหมายการออม
การตั้งเป้าหมายการออม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยว หรือเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ เป็นวิธีช่วยให้เราเก็บเงินได้ดีขึ้น เนื่องจากจะมุ่งมั่นตั้งใจเก็บเงินมากกว่าเดิม ที่สำคัญเป้าหมายการออมไม่ควรทำให้เราใช้เงินได้น้อยเกินความจำเป็นจนใช้ชีวิตลำบาก หากเก็บเงินไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ มุ่งมั่นหาเงินทั้งวันทั้งคืนจนไม่ได้พักผ่อน จะทำให้เกิดความเครียดจนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

?11. เก็บแบงก์ 50 ทุกใบที่ได้รับ
แบงก์ 50 นาน ๆ ถึงจะได้รับมาจากพ่อค้าแม่ค้า วิธีการเก็บเงินด้วยแบงก์ดังกล่าวจึงเป็นตัวเลือกที่ดี เก็บ 50 บาททุกวัน ในหนึ่งเดือนก็กลายเป็น 1,500 บาทแล้ว แต่การเก็บเงิน 50 บาททุกวันอาจไม่เหมาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่อาจเก็บเงินไม่ไหว แนะนำว่าเก็บวันละ 10 20 บาท ก็ยังดี

?️12. เงินทอนหยอดกระปุก
การหยอดกระปุก กระปุกที่ใช้ไม่ควรมีช่องสำหรับนำเงินออกมา หากใช้กระปุกที่แกะออกง่ายเกินไปอาจทำให้เราเก็บเงินออมก้อนใหญ่ตามเป้าหมายไม่ได้ เพราะเผลอเอาเงินไปกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จนหมด

?13. ซื้อเท่าไหร่ ออมเท่านั้น
ในแต่ละเดือนควรกำหนดว่ามีรายการค่าใช้จ่ายพิเศษอะไรบ้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายพิเศษ ได้แก่ ซื้อเครื่องแต่งกายใหม่ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมสินค้า ฯลฯ รายการเหล่านี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจำเหมือนกับ ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งค่าใช้จ่ายพิเศษเหล่านี้ทำให้เงินออมลดลง จนติดลบมากกว่าเดิม

Original by “well-wisher”