🙆 3 STEP เก็บเงินเพื่อให้มีใช้ไปตลอดชาติ 🙋
STEP 1 : กะเกณฑ์วงเงินหลังเกษียณ💁
เริ่มต้นที่อนาคตปักธงไว้ว่าเป้าหมายของเรา คือ หลังเกษียณใช้เงินเท่าไหร่ ประมาณตัวเลขคร่าว ๆ ตัวอย่าง เช่น
อายุ 60 – 95 ปี ต้องการใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 20,000 บาท (ปีละ 240,000 บาท)
มีเวลาใช้เงิน 35 ปี 240,000 x 35 = 8,400,000 บาท
แปลว่า เราต้องมีเงินเตรียมไว้ช่วงเกษียณ 8,400,000 บาท (ถ้ารวมเงินเฟ้อก็จะมากกว่านี้)
STEP 2 วางแผนวิธีการเก็บเงิน💆
เขียนสรุปให้เห็นภาพรวมว่าเงินของเรากระจายอยู่ที่ไหน เท่าไหร่ ถ้าจะให้ดีควรเพิ่มว่าเงินก้อนนี้ใช้ทำอะไรบ้าง ตัวอย่าง
ตอนนี้อายุ 35 เราคำนวณคร่าว ๆ ว่าควรมีเงินเตรียมไว้ช่วงเกษียณ 8,400,000 บาท ดูว่าตอนนี้เราเก็บเงินไว้เกษียณแบบไหนบ้าง เตรียมไว้แล้วเท่าไหร่ พอถึงวัยเกษียณตอนอายุ 60 แล้วเงินก้อนนี้จะกลายเป็นกี่บาท เช่น
RMF ของเก่ามีอยู่ 400,000 บาท ซื้อปีละ 20,000 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% อีก 25 ปี เงินใน RMF จะเติบโตไปประมาณ 2,309,084 บาท
ได้รับเงินจากประกันบำนาญรายปี ๆ ละ 50,000 บาท ตั้งแต่ 60 – 90 ปี รวม 2,000,000 บาท
แสดงว่าเรามีเงินเกษียณเตรียมไว้บ้างแล้ว 2,309,084 + 2,000,000 = 4,309,084 บาท ตอนนี้เราต้องหาเงินเพิ่มอีก 4,090,916 บาท เหลือเวลาเก็บเงินอีก 25 ปี….
STEP 3 การถอนเงินมาใช้จ่ายหลังเกษียณ🙇
การเก็บเงินแต่ละที่ เราจะได้รับเงินแตกต่างกัน เช่น ตอนเกษียณเราได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ครบกำหนดขาย RMF เงินก้อนจากประกันสะสมทรัพย์ที่ครบกำหนดแล้ว เราควรหาที่อยู่ที่ปลอดภัยให้กับเงินก้อนใหญ่เหล่านี้
หาที่เก็บรักษาเงินก้อนเพื่อได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย ทยอยรับรายปีหรือรายเดือน เช่น เงินปันผลจากสหกรณ์ เงินคืนรายปีจากประกันสะสมทรัพย์ เงินจากประกันบำนาญ เงินค่าเช่าอสังหาฯ ฯลฯ
เราควรวางแผนรายรับ – รายจ่ายล่วงหน้า ก็จะรู้จำนวนเงินคร่าว ๆ ว่าจะมีเงินเข้ามาช่วงไหน ซึ่งคนทำงานประจำประมาณตัวเลขง่ายกว่าฟรีแลนซ์ มีรายจ่ายเท่าไหร่
วางแผนให้ดี ..มีเงินใช้สบาย ๆ ตลอดชาตินะคะ😆
Original by “well-wisher”