💰 ทริคการออมที่เราเลือกเองได้ 💰

Tavatchai Engsavings

💰 ทริคการออมที่เราเลือกเองได้ 💰

เวลาเราพูดการออม มักตามมาด้วยข้ออ้าง มากมาย 🤨

“เงินไม่พอใช้จะออมยังไง , เงินไม่มีจะเอาที่ไหนมาออม”

แต่จริง ๆ แล้ว การออมมันอยู่ในสัญชาตญาณเราทุกคน เพราะเป้าหมายของการออมที่แท้จริง คือ เราต้องการสะสมเงินน้อย ให้ได้เงินก้อน เพื่อเอาไปใช้ตามเป้าหมายต่าง ๆ ของชีวิตเราเท่านั้นเอง

แต่อยู่ที่ว่าเพื่อน ๆ จะเลือกออมแบบไหน ซึ่งสรุปได้ 3 แบบ ดังนี้

🎯 1. ออมก่อน ใช้ทีหลัง

สำหรับแบบแรก ง่ายที่สุดและตรงไปตรงมา คือค่อย ๆ เก็บ เพื่อให้ได้เงินก้อน แล้วค่อยเอาไปใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ข้อดี

  • ไม่มีภาระผูกพัน
  • ถ้ามีเรื่องฉุกเฉินเข้ามา ก็ยืดระยะเวลาใช้เงินออกไปได้

ข้อเสีย

  • ต้องมีวินัยพอสมควร ไม่เอาเงินไปใช้ระหว่างทาง
  • มีเงินใช้น้อยลง ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อนำเงินไปออม

วิธีการจัดการ

  • กำหนดเป้าหมายการใช้เงิน 3 เดือน , 1 ปี ข้างหน้า , 3-5ปีข้างหน้า เพื่อให้สามารถจัดการได้ง่าย
  • ออมอย่างเป็นระบบ เช่น ออมในสัดส่วนเท่ากันทุกเดือน , ตัดบัญชีอัติโนมัติ

🧭 2. ใช้ก่อน ออมทีหลัง

แบบนี้เรามักจะคุ้นกันดี ผ่านเครื่องมือทางการเงิน อย่างการใช้บัตรเครดิต การผ่อนสินค้า

ข้อดี

  • ได้ใช้เงินก้อนเลยทันที
  • บังคับให้มีวินัยการออมโดยอัตโนมัติ

ข้อเสีย

  • หากมีเรื่องใช้เงินฉุกเฉิน ต้องเหนื่อยมากขึ้น เช่น หาเงินเพิ่ม , ลดรายจ่ายปัจจุบัน
  • เสียดอกเบี้ยกู้ยืม(บางกรณี)

วิธีการจัดการ

  • คำนวณจำนวนเงิน ระยะเวลาการผ่อนคืน เพื่อไม่ให้บีบการเงินในชีวิตเกินไป
  • วางแผนเผื่อเหตุฉุกเฉิน ที่อาจจะต้องมีเรื่องใช้เงินเพิ่มเข้ามา

🥏 3.ออมก่อน ใช้ระหว่างทาง แล้วค่อยออมต่อ

แบบที่ 3 นี้ คิดว่าหลายคนน่าจะนึกถึงการซื้อบ้าน ซื้อรถ ที่ต้องใช้เงินดาวน์ ซึ่งอีกหนึ่งรูปแบบที่ใช้กลไกนี้ คือ การควบคุมความเสี่ยงผ่านประกันต่าง ๆ เช่น จ่ายเบี้ยไปก่อน หากวันใด เกิดอุบัติเหตุ , มีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้น เราจะใช้เงินระหว่างทาง และจ่ายเบี้ยต่อไปจนจบ

ข้อดี

  • กรณี บ้าน รถ สามารถยืดระยะเวลาการใช้เงินช่วงแรกออกไปได้
  • ป้องกันความเสี่ยงกรณีต้องใช้เงินฉุกเฉิน
  • วางแผนการจ่ายได้

ข้อเสีย

  • มีโอกาสพบปัญหาเรื่องกรณีฉุกเฉินหลายครั้ง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการจ่ายระยะยาว
  • เสียดอกเบี้ยกู้ยืม

วิธีการจัดการ
-เช็คเป้าหมายการใช้เงินระหว่างทาง เพื่อให้วางแผนจัดการรายจ่ายได้ชัดเจนขึ้น เช่น ผ่อนรถ 5 ปี ถ้าต้องมีจ่ายประกันด้วย รายจ่ายจะเกินความสามารถไหม

-ช่วงแรกให้วางส่วนกรณีฉุกเฉินไว้เผื่อหลังจากใช้เงิน ซึ่งกรณีเป็นหนี้ยาว ควรมีขั้นต่ำ 3-6 เดือน

ซึ่งไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเลือกแบบไหน ไม่มีถูกผิดนะคะ แต่มันมีข้อดีข้อเสียต่างกัน อยู่ที่เพื่อน ๆ จะสามารถจัดการมันได้ดีแค่ไหน และที่สำคัญเราไม่จำเป็นต้องเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อใช้ไปตลอดชีวิต เพียงแค่เรานำแต่ละวิธีมาปรับให้เหมาะกับชีวิตคุณในแต่ละช่วงก็พอค่ะ 😋

Original by “well-wisher”