? ออมเงินแบบไม่อึดอัด ออมสบาย ๆ ตามรายวัน ?

adminsavings

? ออมเงินแบบไม่อึดอัด ออมสบาย ๆ ตามรายวัน ?

หากการวางแผนการเงินสามารถทำให้เราออมได้แบบชิล ๆ ทำให้ไม่รู้สึกถึงความอึดอัด มีความลำบากยากเข็ญ หรือต้องทำแบบขอไปที ก็จาะกลายเป็นว่า ได้ผลชนิดที่เจ้าตัวแทบไม่รู้สึกเลยว่ากำลังทำอะไรอยู่ ที่สำคัญไม่รู้ตัวว่ากำลังมี “วินัย” กับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ

? 30 วัน 627 บาท

เหมาะกับมือใหม่หัดออมเงิน เงินเดือนยังไม่มาก หรือยังมีภาระค่าใช้จ่ายสูง วิธีการคือ ในแต่ละเดือนให้ออมเงินลดลงวันละบาท เช่น วันที่ 1 ออม 30 บาท วันที่ 2 ออม 29 บาท วันที่ 3 ออม 28 บาท วันที่ 4 ออม 27 บาท แล้วทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนวันที่ 30 ออม 1 บาท

เหตุผลที่ให้ทำแบบนี้ เพราะว่าช่วงต้นเดือนยังมีเงินเหลือในบัญชี จึงมีกำลังและเต็มใจแบ่งมาเก็บออม และถ้าทำแบบนี้ในแต่ละเดือนจะมีเงินเก็บ 627 บาท ปีละ 7,524 บาท ถึงแม้จะดูไม่มากแต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

? 7 วัน 140 บาท

เหมาะกับมือใหม่หัดออมเช่นเดียวกันและเบี้ยน้อยหอยน้อย วิธีการแสนง่ายดายด้วยการเก็บเงินเป็นรายสัปดาห์ เริ่มจากวันอาทิตย์เก็บ 5 บาท จันทร์เก็บ 10 บาท อังคารเก็บ 15 บาท พุธเก็บ 20 บาท พฤหัสบดีเก็บ 25 บาท ศุกร์เก็บ 30 บาท และเสาร์เก็บ 35 บาท (มีเงินเก็บทั้งสิ้น 140 บาท)

พอขึ้นสัปดาห์ใหม่ก็เก็บเงินแบบเดิม สัปดาห์ถัดไปก็ทำแบบเดิม ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ถึงแม้แต่ละเดือนจะมีเงินเก็บไม่กี่ร้อยบาท แต่สิ่งที่ได้และสำคัญต่อแผนการใหญ่ด้านการวางแผนการเงินในอนาคต ก็คือระเบียบวินัย

? 6 เดือน 10,300 บาท

เป็นความสนุกสนานแถมเกิดการเรียนรู้เรื่องเป้าหมายด้วย วิธีการคือ มกราคมเก็บ 1,000 บาท กุมภาพันธ์เก็บ 2,000 บาท พอถึงเดือนมีนาคมต้องเก็บเงินให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าเดือนมกราคม สมมติว่าเก็บ 1,200 บาท

ถึงเดือนเมษายนยิ่งสนุกและท้าทาย เพราะต้องเก็บให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ สมมติว่าเก็บ 2,300 บาท มาถึงเดือนพฤษภาคมก็ต้องเก็บให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าเดือนมีนาคม สมมติเก็บ 1,300 บาท และเดือนมิถุนายนต้องเก็บให้ได้เท่ากับหรือมากกว่าเดือนเมษายน สมมติเก็บ 2,500 บาท

ถ้าทำได้แค่ครึ่งปีแรกจะมีเงินเก็บ 10,300 บาท เช่นเดียวกันพอครึ่งปีหลัง (กรกฎาคม – ธันวาคม) ก็ใช้วิธีเดิม สรุปแล้วปีนั้นมีเงินเก็บทั้งสิ้น 20,600 บาท และจะเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้นกับวิธีนี้แนะนำให้ทำเป็นตารางในสมุด

? 12 เดือน 45,000 บาท

เหมาะกับใครที่ต้องการท้าทายตัวเอง วิธีการคือ ออมเงินทุกเดือนแล้วก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น มกราคมเก็บ 1,000 บาท กุมภาพันธ์เก็บ 1,500 บาท มีนาคมเก็บ 2,000 บาท เมษายนเก็บ 2,500 บาท นั่นคือเก็บเงินเพิ่มเดือนละ 500 บาท จนถึงธันวาคมที่เก็บ 6,500 บาท ซึ่งหากทำแบบนี้ภายใน 1 ปีจะมีเงินเก็บทั้งสิ้น 45,000 บาท

ปีถัดไป เจ้านายใจดีเพิ่มเงินเดือนให้ก็อาจจะเริ่มต้นเก็บเงินเดือนมกราคมเป็น 1,500 บาท กุมภาพันธ์เก็บ 2,000 บาท (เก็บเงินเพิ่มเดือนละ 500 บาท) จนถึงธันวาคมที่เก็บ 7,000 บาท หากทำแบบนี้ ในปีนั้นจะมีเงินเก็บทั้งสิ้น 51,000 บาท

แค่สองปีก็มีเงินเก็บ 96,000 บาท ทำให้หัวใจพองโตและอยากจะเก็บเงินต่อไปเรื่อย ๆ และปีที่สามเริ่มต้นที่ 2,000 บาท และปีถัด ๆ ไปก็ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เพียงแค่เพิ่มจำนวนเงิน ถ้าทำได้ 10 ปีต่อเนื่อง ไม่อยากคิดเลยว่าจะมีเงินเก็บมากแค่ไหน และยิ่งรู้จักนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทนให้ได้สม่ำเสมอ เงินจะยิ่งงอกเงยขึ้นเรื่อย ๆ

?️ เก็บเงินเพิ่มวันละบาท ปีเดียวทะลุครึ่งแสน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อเก็บเงินเพิ่มวันละบาท เก็บไปเรื่อย ๆ ห้ามหยุดแม้แต่วันเดียว พอถึงวันสุดท้ายของปีก็เปิดกระปุกดู เงินเก็บกลายเป็น 66,795 บาท ถ้าทำอย่างนี้ไปทุกปี ๆ แล้วนำเงินเก็บทั้งหมดไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน จาก 1 บาทจะกลายเป็นหลักล้านบาทภายในไม่กี่ปี

เทคนิคของการเก็บเงินเพิ่มวันละบาท ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก
วันที่ 1 ออม 1 บาท
วันที่ 2 ออม 2 บาท
วันที่ 3 ออม 3 บาท
วันที่ 4 ออม 4 บาท

วันที่ 100 ออม 100 บาท
วันที่ 280 ออม 280 บาท
วันที่ 365 ออม 365 บาท

ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงวันสุดท้ายของปี ภายใน 1 ปี จะมีเงินออมทั้งสิ้น 66,795 บาท

? วันละ 30 บาท (+100) สิ้นปีได้ 12,000 บาท

วิธีการคือ ตกเย็นหลังกลับจากออฟฟิศ ให้นำเงิน 30 บาทไปหยอดกระปุก สิ้นเดือนจะได้ 900 บาท สิ้นปีได้ 10,800 บาท และเพื่อให้การออมเงินสนุกสนานขึ้นอาจจะมองว่า 900 บาท เป็นตัวเลขไม่สวย ถ้าเป็นเช่นนั้นตอนสิ้นเดือน ลองเติมอีก 100 บาทก็จะมีเงินเก็บ 1,000 บาทต่อเดือน สิ้นปีเบาะ ๆ ก็ 12,000 บาท

? เปลี่ยนเศษเงิน เป็นเงินหมื่น เงินแสน

ตื่นเต้นไม่แพ้วิธีอื่น ๆ นั่นคือหักเศษเงินเดือน โดยเมื่อเงินเดือนเข้ามาในบัญชี อย่าพึ่งใช้แต่ให้ดูว่ามียอดเท่าไหร่ สมมติว่าอยู่ที่ 28,860 บาท ก็ให้นำไปหยอดกระปุกทันที 860 บาท ถ้าทำแบบนี้ทุก ๆ เดือน คิดดูว่าสิ้นปีจะมี เงินเก็บเท่าไหร่

มาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามว่าจะเลือกใช้วิธีไหน คำตอบคือเอาที่สบายใจ เพราะการออมเงินหรือการลงทุนเป็นเรื่องส่วนตัว ขึ้นอยู่กับความชอบ ความพอใจ หรือกำลังของแต่ละคน

Original by “well-wisher”