
KAKEIBO ศิลปะการออมเงินแบบญี่ปุ่น
เรียนรู้เกี่ยวกับ Kakeibo (คาเคโบะ) ศิลปะการออมเงินแบบญี่ปุ่น
การออมเงินเป็นเรื่องยากจริง ๆ ไม่ว่าคุณจะรู้สึกว่าดิ้นรนมากเพียงใด คุณจะเหลือเพียงเงินบาทในบัญชีของคุณเมื่อถึงช่วงสิ้นเดือน
ใช้วิธีไหนก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการออมเงินได้ซักที
Kakeibo (คาเคโบะ) แนวทางการบันทึกงบประมาณ และเทรนด์ไลฟ์สไตล์ล่าสุดของชาวญี่ปุ่น
คาเคโบถูกคิดค้นขึ้นในปี 1904 โดย Hani Motoko นักข่าวหญิงคนแรกของญี่ปุ่น
เธอได้ออกแบบแนวทางการออมนี้ขึ้นมา เพื่อช่วยผู้หญิงที่มีภาระ และมีงานประจำที่แสนยุ่งในแต่ละวัน ให้สามารถจัดการเรื่องการเงินได้ และต่อไปนี้คือสิ่งที่เราควรรู้
- เราต้องเปลี่ยนโฟกัส
เปลี่ยนจากการออม มาเป็นการใช้จ่าย แล้วคุณจะชอบแนวคิดนี้
เราต้องปรับทัศนคติของเราในเรื่องงบประมาณ คือ “เราต้องใช้จ่ายให้ดี” เพื่อที่จะ “ออมให้ดี” และในทางกลับกัน เราทุกคนทำงานหนักเพื่อจะมีชีวิตอยู่ และสนุกกับสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วย เพราะถ้าเรามัวแต่โฟกัสที่การเก็บเงินมากไป สุดท้ายเมื่อเราล้มเหลว อาจจะยิ่งทำให้เราเลิกคิดเรื่องการเก็บเงินแบบถาวรไปเลยก็ได้
แต่หากเป็นเรื่องของการจัดสรรงบประมาณอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้เราสามารถทำในสิ่งที่เราอยากทำได้จริง ๆ โดยเหลือเงินส่วนนึงสำหรับออม ทีนี้การออมเงินก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ทรมานอีกต่อไป - บันทึกค่าใช้จ่าย
การเขียนลงกระดาษช่วยได้ คาเคโบะ เป็นเรื่องของการบันทึกค่าใช้จ่ายของคุณ ซึ่งการจดตัวเลขแบบลวก ๆ ลงโน้ตมือถือ หรือบันทึกการจ่ายออนไลน์ ทำให้เรายิ่งทุ่มไปกับการซื้อมากขึ้นด้วยซ้ำ
เพราะเราไม่เห็นรายละเอียด และไม่ได้ใช้เวลาวิเคราะห์ความจำเป็นเลยด้วยซ้ำ การจรดปากกาลงบนกระดาษ เป็นส่วนของการฝึกฝนสติวิธีหนึ่งในการใช้จ่าย “โลกของเราตอนนี้หมุนเร็วมาก มากจนทุกสิ่งสามารถซื้อ และจ่ายได้อย่างรวดเร็ว
คาเคโบะช่วยให้เราช้าลง และพิจารณาสิ่งที่เราซื้อได้อย่างสงบ และวัดผลได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อถึงต้นเดือน คุณต้องคิดและจดจำนานเงินจริง ๆ ที่คุณมีอยู่ ตั้งแต่เงินเดือน และเงินฟรีแลนซ์ ไปจนถึงเงินอั่งเปา เมื่อตอนตรุษจีนด้วย
และจากนั้น เขียนค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น ค่าเช่า บิลเรียกเก็บค่าบริการรายเดือนต่าง ๆ นำมาหักลบออกจากยอดเงินที่มี จากนั้นคุณจะเห็นเงินก้อนที่เหลือ และเริ่มคิดได้ว่า “จะออม” หรือ “จะใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า” - แบ่งค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่
คุณต้องซื่อสัตย์กับคำว่า “ต้องการ” หรือ “จำเป็น” คาเคโบะยังเกี่ยวกับการกระจายเงินด้วย คุณจะรู้ได้ในขั้นตอนนี้ว่า เงินที่เหลืออยู่นี้ จะต้องถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
3.1 ค่าใช้จ่ายสำหรับความต้องการ เช่น อาหารว่าง กาแฟยามดึก ของฟุ่มเฟือยที่ไม่มีก็สามารถอยู่ได้ เป็นต้น
3.2 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ค่าเดินทางไปทำงาน ค่าอาหารสามมื้อ เป็นต้น แน่นอนว่าเสื้อผ้าก็อาจอยู่ในส่วนของจำเป็นในบางเดือนก็เป็นไปได้ แต่จำเป็นต้อง ZARA TOPSHOP จริงหรอ?? คิดให้ถี่ถ้วนก่อนจะรู้สึกผิดทีหลังนะจ๊ะ - เน้นใช้เงินสด
เงินสดดีกว่าบัตร ปัจจุบันการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และโมบายแบงค์กิ้งนั้นแพร่หลาย และง่ายดายเกินกว่าจะมีเวลายับยั้งชั่งใจตอนใช้จ่าย
นี่อาจเป็นจุดที่เรากำลังผิดพลาด การใช้บัตรทำให้เรารับผิดชอบการใช้จ่ายของเราน้อยลง แต่การใช้เงินสดทำให้เราได้ฉุกคิดเมื่อเห็นงบประมาณ ที่เราเบิกจากแบงค์มาใส่กระเป๋า และจำนวนแบงค์ที่ถูกดึงออกไปแต่ละครั้ง ทำให้เรามีสติมากขึ้น - การจัดสรรเงินใส่ซอง
Back to Basic การจัดสรรเงินใส่ซองสำหรับค่าใช้จ่ายหมวดต่าง ๆ ให้เป็นสัดส่วน เป็นวิธีที่ดีมาก ๆ ที่จะช่วยแก้ไขความสับสนปนเปของการใช้จ่าย เช่น ซองสำหรับค่าใช้จ่ายคงที่รายเดือน, ซองสำหรับค่าใช้จ่ายเผื่อจำเป็น, ซองสำหรับค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย, ซองสำหรับเก็บออม เขียนหน้าซองไว้เลยค่ะ - ติดตามผลการจดบันทึก
ควรจบเดือนด้วยการไตร่ตรองความก้าวหน้าของตัวเอง เดือนแรก ๆ ที่เริ่มทำไม่ควรกดดันตัวเองเกินไป
คาเคโบะ แนะนำให้เราพิจารณาการใช้จ่ายในสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รับทราบความสำเร็จ และจุดอ่อนที่ต้องปรับแก้ เพื่อวางแผนสำหรับเดือนถัดไป
การติดตามการใช้จ่ายในแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เป็นเพียงการแสดงให้เราเห็นว่าเรากำลังทำอะไรผิดพลาด แต่การทำ คาเคโบะ จะทำให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น ด้วยแนวคิดที่ว่า “ฉันมีความสุขกับการออมเงินจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกเดือน
อาจดูเหมือนไม่มีค่าเลยในช่วงเวลาเริ่มต้น แต่นั่นจะนำไปสู่ผลรวมที่ใหญ่กว่าในที่สุด” การติดตามผลจากการจดบันทึกในแต่ละเดือน จะช่วยให้คุณเห็นการพัฒนาและความคืบหน้าของตัวเอง
อย่าลืมสร้างคาเคโบะให้ตัวเอง สละเวลาเขียนหนังสือตัวยุ่ง ๆ และอย่าลืมบีบมือตัวเอง หลังจากผ่านไปหนึ่งเดือน
Credit: Hani Motoko