?บ้านสวนคืนสู่สามัญ (ตอนที่ 2)?

adminothers

?บ้านสวนคืนสู่สามัญ (ตอนที่ 2)?

เมื่อเรามีพื้นที่ 1 ไร่ แล้ว ก็มาสู่วิธีจัดการพื้นที่ 1 ไร่ยังไงให้ อยู่ดีมีสุขค่ะ ❤️

มีพื้นที่ 1 ไร่ แบ่งยังไง ให้ดูแลเองได้ สร้างรายได้และมีน้ำพอใช้ตลอดปี ?‍???
.
หลักการคือพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 1 งาน (400 ตารางเมตร)
.
1 ส่วน ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและขุดบ่อน้ำ ?️? อีก 3 ส่วนใช้สำหรับเพาะปลูกพืช 3 ระยะ ??? หรือก็คือการปลูกพืชหลาย ๆ ชนิด ที่ใช้ระยะเวลาในการปลูกและให้ผลผลิตเร็วช้าต่างกัน ที่สำคัญใช้น้ำต่างกันด้วย แบ่งเป็น ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เช่น พืชระยะสั้นจะใช้เวลาปลูกน้อยที่สุด เก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพืชระยะกลางและยาว นั่นเอง

?การปลูกพืชระยะสั้น (กินน้ำน้อย?): เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน ผักบุ้งจีน เห็ดนางฟ้า ผักสลัด ฯลฯ ใช้เวลาปลูกระยะสั้น ๆ 30 – 55 วัน จึงเน้นปลูกเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันเป็นหลัก ถ้ามีมากก็สามารถขายเพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้อีกต่อ (อาจจะมีการป้องกันแมลงหรือแดดแรง ๆ ด้วยการกางมุ้งหรือสแลน)

??การปลูกพืชระยะกลาง (กินน้ำปานกลางถึงมาก???) : เช่น มะนาว มะม่วง มะละกอ กล้วย หรือผลไม้ตามฤดูกาล ในช่วงเริ่มใช้เวลาปลูกนานขึ้นจากหลักเดือนถึงหลักปี เมื่อเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ในรอบ 1 ปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ 1-2 ครั้ง หรือตามฤดูกาล รายได้จากพืชระยะกลางมักถูกใช้เพื่อชำระหนี้ เก็บออม หรือลงทุนซื้ออุปกรณ์การเกษตรเพิ่มเติม

???การปลูกพืชระยะยาว (ไม่ต้องรดน้ำมากเมื่อโตแล้ว??) : เช่น ต้นสักทอง ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ประดู่ ฯลฯ หรือพวกไม้เศรษฐกิจที่ใช้เวลาปลูกหลายปีกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ เน้นเป็นการปลูกตามแนวเขตแดน เป็นรั้ว หรือ ในพื้นที่ 1 ไร่ จะมีความยาวประมาณ 160 เมตร ถ้าลงต้นไม้ในระยะ 2 เมตร/ต้น ก็จะปลูกได้ถึง 80 ต้นด้วยกัน โดยแนะนำให้ปลูกพืระยะกลางผสมผสานในระหว่างระบะปลูกของพืชระยะยาวได้ เพื่อเป็นการสร้างรายได้และใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า
.
สุดท้ายคือการวางระบบสปริงเกอร์ให้น้ำเพื่อลดแรงงานและการใช้น้ำในพื้นที่ โดยใช้น้ำจากส่วนที่ 1 ที่มีการขุดไว้และมีการประเมินให้เพียงพอต่อการใช้ปลูกพืชทั้ง 3 ส่วน
.
การทำการเกษตรในพื้นที่จำกัด มีข้อดีมากมาย ?✨ ไม่ต้องกังวลเรื่องภัยแล้งเพราะมีน้ำสำรองในที่ของตัวเอง สามารถควบคุมดูแลได้ทั่วถึง ทำเองได้ในครอบครัว สามารถทำควบคู่กับงานประจำ เมื่อเริ่มต้นจากเล็ก ๆ ควบคุมได้ถือเป็นการฝึก เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น ก็สามารถหาทางขยับขยายเพื่มพื้นที่ได้ในภายหลัง

Credit source by สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)