✊️ สรุป 3 กลุ่ม รับเงินเยียวยา ‘เราชนะ’ อย่างไร ✊️

adminothers

✊️ สรุป 3 กลุ่ม รับเงินเยียวยา ‘เราชนะ’ อย่างไร ✊️

ครม.อนุมัติ “เราชนะ” จ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 3,500 บาทรวม 2 เดือน เกณฑ์การได้สิทธิ และใครที่ต้องลงทะเบียนใหม่เพื่อรับสิทธิบ้าง เช็คได้ที่นี่

“เราชนะ” มาตรการ “เยียวยาโควิด” จากรัฐบาลที่หวังช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้และได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยการจ่ายเงินเยียวยา 3,500 บาท ระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ ก.พ.-มี.ค. 2564 รวมเป็นเงินเยียวยาทั้งหมด 7,000 บาท 

ล่าสุดมติคณะรัฐมนตรี (มติ ครม.) เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 สรุปถึงมาตรการเราชนะล่าสุด ที่จะมาบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย อาชีพอิสระ เกษตรกร บัตรคนจน โดยประชาชนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 31.1 ล้านคน 

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะเปิดให้ลงทะเบียน ผ่าน www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. 2564 ทั้งนี้กระทรวงการคลังก็มีการชี้แจงเพิ่มเติมว่า โครงการ “เราชนะ” มีผู้ที่ต้องลงทะเบียนใหม่ และไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ โดยมีการดึงเอาฐานข้อมูลเดิมมาใช้สำหรับการรับสิทธิเราชนะ

? กลุ่มที่ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ 

1.กลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ได้แก่ 

1.1 กลุ่มบัตรคนจน 10,127,587 คน (ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี จากที่ได้รับเงินในบัตรฯ 200 บาท/เดือน) จะได้รับเงินรวมเป็นคนละ 3,300 บาท 

1.2 กลุ่มบัตรคนจน 3,610,436 คน (ที่มีรายได้ระหว่าง 30,000 – 100,000 บาท/ปี จากที่ได้รับเงินในบัตรฯ 300 บาท/เดือน) จะได้รับเงินรวมเป็นคนละ 3,200 บาท 

ทั้งนี้จะได้รับเงินติดต่อกัน 2 เดือน : โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ 

2.กลุ่มคนละครึ่ง / เราเที่ยวด้วยกัน สำเร็จ และผ่านการยืนยันตัวตน ภายในวันที่ 27 ม.ค.2564 และกลุ่มที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบฐานข้อมูล จำนวน 1,736,197 คน คนละ 3,500 บาท เดือน

ซึ่งต้องคัดกรองคุณสมบัติ ดังนี้

ไม่เป็นราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ไม่เป็นผู้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัดจากราชการ
ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33
มีเงินฝากรวมทุกบัญชีไม่เกิน 500,000 บาท (ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562)
มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 300,000 บาท ในปีภาษี 2562
ส่งข้อความให้กดรับสิทธิ โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่

? กลุ่มที่ต้องลงทะเบียนใหม่ 

ผู้ไม่เคยลงทะเบียนรับสิทธิ หรือไม่มีชื่อในระบบ ลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์ม www.เราชนะ.com ในวันที่ 29 มกราคม 2564

ทั้งนี้ ไม่สามารถเบิกเงินสดได้ โดยต้องนำไปใช้ผ่านระบบเพื่อชำระค่าสินค้า เครื่องดื่ม อาหาร และบริการอื่น ๆ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, ไทยคู่ฟ้า