? “Hurry Sickness” เป็นโรคทนรอไม่ไหว ..ทำไงดี ?

Tavatchai Engothers

? “Hurry Sickness” เป็นโรคทนรอไม่ไหว ..ทำไงดี ?

มาทำความรู้จักกับ โรคทนรอไม่ได้ ที่อาจสร้างปัญหา ให้ทั้งตัวเอง และคนรอบตัว

อาทิเช่น เวลาสั่งของออนไลน์ เพื่อน ๆ เคยมีความรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะของมาส่งช้าไหม ?
หรือว่าสั่งของก็มักจะเลือกแบบ “พร้อมส่ง” มากกว่าของแบบ “พรีออร์เดอร์”
เพราะไม่อยากจะต้องรอสินค้า และหงุดหงิดที่ต้องรอของเป็นเวลานาน ๆ

ถ้าหากว่าเพื่อน ๆ เคยมีความรู้สึกแบบนี้ ไม่แน่ว่าเพื่อน ๆ อาจจะเป็น “Hurry Sickness” หรือ “โรคทนรอไม่ได้” ก็เป็นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนยุคใหม่จำนวนมาก กำลังเป็นกันอยู่ไม่น้อย

อาการนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะในการสั่งของออนไลน์เท่านั้น เพราะในวงการการทำงานเอง เราก็อาจจะมีโอกาสที่ได้เจอคนลักษณะนี้เหมือนกัน

แล้วเราจะปรับตัวเอง หรือรับมือกับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างไร ?

ก่อนอื่นเรามาลองเช็กดูก่อนว่า เรามีอาการ Hurry Sickness หรือไม่

  • คุณเป็นคนที่ทำให้ทุกเรื่องกลายเป็นการแข่งขัน
  • คุณเป็นคนที่หงุดหงิดเมื่อต้องเจอกับความล่าช้า
  • คุณต้องทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
  • คุณรู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากใช้ชีวิตมาทั้งวัน
  • คุณมักพูดแทรกคนอื่นอยู่บ่อย ๆ
  • คุณมักหมกมุ่นอยู่กับการเช็กสิ่งรอบตัว นอกจากเรื่องของตัวเอง

จากทั้งหมดที่กล่าวมา แน่นอนว่าอาการเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดความหงุดหงิด ทั้งกับตัวเองและคนรอบตัว นอกจากนี้อาการเหล่านี้ยังนำไปสู่ความเครียดที่มากเกินไปอีกด้วย

ฉะนั้นหากคุณเป็นคนที่มีอาการเหล่านี้ คงต้องลองปรับเปลี่ยนตัวเองดู เพื่อให้ทั้งตัวคุณเอง และคนรอบตัวสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

? 1. พิจารณาให้ดีว่าอะไรคือสิ่งที่สามารถรอได้

จริง ๆ แล้วอาการ Hurry Sickness เป็นสิ่งที่เราต้องเริ่มแก้ไขจากความคิดของตัวเองก่อน และพยายามทำความเข้าใจว่า หลายสิ่งในชีวิตเราไม่สามารถควบคุมได้ดั่งใจเสมอไป
ฉะนั้นลองพิจารณาด้วยเหตุผล และจัดลำดับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตให้ดีว่า อะไรที่สามารถรอได้ หรืออะไรบ้างที่จำเป็นต้องเร่งรีบจริง ๆ
อย่างในการทำงานเราก็ควรพิจารณาดูว่า งานไหนที่ต้องเร่ง และงานไหนสามารถรอได้ เพื่อจัดการได้อย่างเป็นลำดับ แทนที่จะจัดการงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน จนอาจนำไปสู่การทำงานที่ผิดพลาดได้ เพราะทำหลายอย่างพร้อมกันเกินไป
การทำงานทีละอย่างจะช่วยให้สมองเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเหนื่อยล้า และยังช่วยลดความเครียด หรือความกดดันได้อย่างดี

? 2. หาอะไรทำฆ่าเวลาระหว่างรอ

หากใครเคยไปซูเปอร์มาร์เก็ต อาจจะเคยเจอช่อง Self-Checkout ซึ่งเปิดให้ผู้คนคิดเงินด้วยตนเอง
ซึ่งจริง ๆ แล้วการคิดเงินผ่านช่อง Self-Checkout ใช้เวลาในการคิดเงินพอ ๆ กับการคิดเงินปกติ
แต่เพราะเมื่อเราเป็นคนลงมือทำเอง หรือมีอะไรทำโดยที่ไม่ได้รอเฉย ๆ ก็ทำให้เรารู้สึกว่าทุกอย่างเร็วขึ้น
ในการทำงานก็เช่นกัน หากคุณเกิดมีอาการหงุดหงิดเพื่อนร่วมงาน หรือใครก็ตามที่ทำงานช้า อาจลองไปทำงานในส่วนอื่นดู หรือหาความรู้เกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติม แล้วจึงค่อยกลับมาเช็กงานเพื่อนร่วมงานใหม่อีกครั้ง
ซึ่งนอกจากการทำแบบนี้ จะไม่เป็นการสร้างความกดดันให้เพื่อนร่วมงานจนเกินไปแล้ว ยังอาจช่วยให้งานที่กำลังทำอยู่เสร็จเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ได้

?‍? 3. หาเวลาผ่อนคลายจากอินเทอร์เน็ตบ้าง

เพราะส่วนหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอาการ Hurry Sickness นั้นมาจากที่เราอยู่กับอินเทอร์เน็ตมากเกินไป
ฉะนั้นควรลองหาช่วงเวลาที่เราจะได้ผ่อนคลายจากอินเทอร์เน็ต และหากิจกรรมแบบออฟไลน์ทำ เช่น การนั่งสมาธิ ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง ดูหนัง ระบายสีน้ำ และอื่น ๆ ที่ทำให้เราได้ห่างจอบ้าง
นอกจากการทำกิจกรรมแบบออฟไลน์จะช่วยให้เราผ่อนคลายแล้ว
ยังเป็นการ Social Detox ออกห่างจากสังคมออนไลน์ที่อาจจะมีแต่ข่าวร้าย ๆ เรื่องลบ ๆ
ซึ่งก็จะช่วยให้เราได้ผ่อนคลาย ใช้เวลาอยู่กับตัวเองบ้าง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงสรุปได้ง่าย ๆ ว่า Hurry Sickness นั้น ถ้าปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังไป อาจส่งผลกระทบในด้านไม่ดี ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น

ส่วนวิธีแก้ไขนั้น ก็ควรเริ่มจากการปรับตัว ปรับความคิด หรือทำทุกอย่างให้ช้าลงบ้าง เพราะแม้ว่าโลกรอบตัวเราจะหมุนไว แต่ในบางเรื่องที่ปล่อยวางได้ ช้าได้ โดยไม่ได้ส่งผลเสียอะไร
เราก็ไม่จำเป็นต้องก้าวทันโลก ตลอดเวลาก็ได้..

ข้อมูล
-https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5779
-https://www.healthline.com/health/mental-health/hurry-sickness
-https://www.huffpost.com/entry/signs-of-hurry-sickness-how-to-deal_l_6081d78de4b0dff254039874